ปราสาทปรางค์กู่

ปราสาทปรางค์กู่
 ปราสาทปรางค์กู่ สร้างขึ้นในราว ศตวรรษที่ 16 มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างเป็นแนวเหนือไปใต้อยู่บนฐานขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐปนแลง เป็นศิลปขอมที่งดงามเชิงสถาปัตยกรรมขอมโบราณ ที่ยังคงหลงเหลือให้เป็นของขวัญทางประวัติศาสตร์แก่ลูกหลานไว้หลายแห่งหน กระจายไปทั่วภาคเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของ ” ราชอาณาจักรขอม “ภายใต้การปกครองของ “จักรวรรดิขะแมร์ ” ก่อนที่ล่มสลายไปหลังจากที่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์  ” หลังจากนั้นราชวงศ์พระร่วง “แห่ง ” กรุงสุโขทัย “ก็ขึ้นมาแทนที่อาณาจักรขอม ที่ล่มสลายลงในที่สุด
บ้านปรางค์กู่ ชุมชนเผ่ากูยเดิม ที่อาศัยอยู่ที่นี่นับพันปี จนกลายเป็นอำเภอปรางค์กู่ในปัจจุบัน ซึ่งห่างออกไปราว 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของ ” ปราสาทปรางค์กู่ ” ปราสาทศิลปะขอมที่ทำจากหินศิลาแลงที่เป็นฐาน มีความงดงามแม้ว่าตัวอาคารจะถูกโจรใจบาป ได้งัดเอาบางส่วนและพังทะลายไปบางส่วน
ปราสาทปรางค์กู่
ปราสาทปรางค์กู่
ปราสาทปรางค์กู่
” ปราสาทปรางค์กู่ ” ตัวปราสาทเป็นอาคาร 3 หลัง เรียงเป็นแถวอยู่บนฐานศิลาแลง ตัวอาคารสร้างจากอิฐมอญ ส่วนของเสาและทับหลังทำมาจากหินทราย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่อาณาจักรขอมเรื่องอำนาจ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ในดินแดนขอม ที่ได้สร้างพุทธสถาน ไว้มากมายเช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ในกัมพูขา
ปราสาทปรางค์กู่
” ปราสาทปรางค์กู่ ” น่าจะเป็นหนึ่งใน 121 ของที่พักของคนเดินทางที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างขึ้นทั่วราชอาณาจักรที่เชื่อมกับเส้นทางไปยังเมืองต่างๆ เช่น เส้นทางไปยังปราสาทหินพิมายมี 17 แห่ง ระยะห่างแต่ละแห่งห่างกันราว 15 กิโลเมตร ที่พักคนเดินทางเหล่านี้จะก่อด้วยก้อนศิลา และจะมีการจุดไฟไว้ตลอด ซึ่งนักโบราณคดีได้เรียกอาคารลักษณะแบบนี้ว่า ” ธรรมศาลา “
จากจารึกโบราณทำให้เชื่อกันว่า ปราสาทปรางค์กู่ก็คือหนึ่งใน ” อโรคยาศาลา ” หรือถ้าปัจจุบันก็คือโรงพยาบาล จาก 102 แห่งทั่วบริเวณไทยและกัมพูชา สร้างเพื่อเป็นที่พัก รักษาพยาบาล ของชุมชนไกล้เคียง สังเกตุว่าใกล้ๆปราสาท จะมีหนองน้ำไว้ น่าจะเพื่อเป็นแหล่งน้ำบริโภคสำหรับชุมชนนั่นเอง

ทับหลังปราสาทปรางค์กู่ อำเภอ ปรางค์กู่ ศรีษะเกษ

ทับหลังปราสาทปรางค์กู่

       ทับหลังขององค์ปราสาทที่ประดับประตูทางทิศใต้ เป็นจำหลัก (ภาพแกะสลัก ) ของพระนารายณ์ 4 กร ทรงถือ จักร สังข์ ดอกบัว และคธาประทับยืนบนแขนของพระยาครุฑที่กำลังกางปีก ที่ก็ยืนบนหลังสิงห์อีกที และสิงห์ทั้งสองตัว ก็กำลังเกาะอยู่งูใหญ่ 3 หัวที่ลำตัวใหญ่โตและมีลวดลายคล้ายพวงมาลับยเลื้อย โค้งจรดพื้นบนแล้ววนลงมาด้านข้าง

     มีเทวดาอยู่ด้านบนกำลังฟ้อนรำอยู่ 4 องค์ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ส่วนองค์ที่อยู่ริมนอกซ้ายขวาก็รำในท่านั่งต่างกับองค์ใน ที่ร่ายรำในท่ายืน ลักษณะเป็นช่างแกะคนเดียวกันเพราะมีใบหน้า ลำตัวคล้ายกันมาก ต่างกันเพียงเล็กน้อย

ทับหลังปราสาทปรางค์กู่
      ทับหลังขององค์ปราสาทที่ประดับประตูทางทิศเหนือ เป็นจำหลัก ( ภาพแกะสลัก )เรื่องราวคล้ายเรื่องรามเกียรติ์ เป็นจำหลักภาพของพระลักษณ์และพระราม
กำลังนอนข้างๆกัย ถูกมัดด้วย “ศรนาคบาศ ” ในถ้ำ มีไพร่พลลิงมากมายกำลังเล่นรอบตัวพระองค์ ด้านบนมีเทวดาที่น่าจะเข้ามาช่วยเหลือ สังเกตุจากใบหน้า
ที่ยิ้มแย้ม มีหัวของเทวดาวางบนพื้นที่ลิงสองตัวคล้ายกำลังประคอง ( ไม่แน่ใจว่าลิงจะร่าเริงหรือเพราะนิสัยซน )
ทับหลังปราสาทปรางค์กู่
ทับหลังอันนี้เป็นของปรางค์องค์กลาง เป็นภาพจำหลัก (ภาพแกะสลัก )ของพระนารายณ์ทรงโคบนแท่นที่มี ” หน้ากาล ” เทพเจ้ารักษาธรณีประตูหรือเกียรติมุข ( บริวารของพระศิวะใบหน้าเป็นยักษ์ปนหน้าสิงห์ที่เป็นอมนุษย์ ไม่มีลำตัวและแขนขา ทำหน้าที่ปกป้องบ้านเรือนและคุ้มครองผู้มี่นับถือพระศิวะ )
ปราสาทปรางค์กู่
           ชาวปรางค์กู่ ต่างก็นับถือปราสาทปรางค์กู่ว่าเป็นศูนย์รวมของจิตใจรวมรักสามัคคี เชื่อว่าการกราบไหว้บูชาปราสาทของบรรพบุรุษเพื่อแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษแล้วจะดลบันดาลให้เกิดความสงบร่มทำมาหากินค้าขายร่ำรวย และจะมีงานประจำปีในทุกปีของ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่างาน “หวัวบุญเบิกฟ้า ” หรือ”หวัวบุญเบิกฟ้า ขึ้น 3 ค่ำ มหัศจรรย์ เดือน 3 “ก็จะประมาณ ปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพัธ์ ของทุกปี และจะมีพิธีเซ่นไหว้ ” พ่อปู่พันธเสน ” ที่ชาวบ้านเชื่อเป็นวิญญาณที่คอยดูแลรักษาปกป้องปราสาทและชาวบ้านให้มีความสุขความเจริญในทุกๆด้าน 
     
ปราสาทปรางค์กู่
        จนถึงปัจจุบันก็ได้กลายเป็นประจำปัของอำเภอปรางค์กู่ จะมีขบวนพิธีเซ่นไหว้ “พ่อปู่พันธเสน “การแสดงร่ายรำของชาวบ้านเช่น “รำปรางค์ธาตุนางขาว ” การแสดงศิลปวัฒนธรรม ” แกลมอกูย ” ซึ่งเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อเซ่นไหว้บูชาเหล่าวิญญาณของบรรพบุรุษและยังเป็นงานร่วมสมัยคือ เป็นงานถ่ายทอดภูมิปัญญา สินค้าโอท๋อป ผ้าไหม ลายปราสาท ไปในคราวเดียวกัน
ปราสาทปรางค์กู่

ปราสาทปรางค์กู่ ได้ขึ้นเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร ตามพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 โดยอยู่ห่างจากจังหวัดศรีษะเกษ 65 กิโลเมตร

ปราสาทปรางค์กู่
การเดินทางไป ปราสาทปรางค์กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีษะเกษ