วัดนาคาเทวี นาข่า อุดรธานี

พระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์

วัดนาคาเทวี-นาข่า

         วัดนาคาเทวี เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของชาวตำบลนาข่า ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาข่า สภาพเดิมวัดนาคาเทวีเป็นเนินเขาที่มีขนาดไม่สูงนัก ที่เรียกกันว่า ภูน้อย (คำว่า ภู ภาษอีสาน หมายถึง ภูเขา) เป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย เป็นที่น่าเกรงกลัวของชาวบ้าน จนไม่มีใครกล้าที่จะผ่านบริเวณนี้

วัดนาคาเทวี-นาข่า
วัดนาคาเทวี-นาข่า

“ คั้นเฮ็ดดีสิเป็นบ้านเป็นเมือง คั้นเฮ็ดบ่ดีสิได้หอบผ้าแลนข้ามทุ่ง ”

วัดนาคาเทวี-นาข่า

                   เมื่อสมัยปี พ.ศ. ๒๔๕๔ หลวงปู่หน่อย ญาณยุตโต (สกุลเดิม ละชินลา) ซึ่งเป็นชาวบ้านตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ได้อุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดบัวจูม (บ้านขาวในปัจจุบัน) ได้ธุดงค์มาพร้อมกับชาวบ้าน ๕ ครอบครัว ประกอบด้วย ๑. นายอ่ำ กัลป์ยาบุตร ๒. นายไทโท่ ๓. นายใหญ่ ละชินลา ๔. นายคำมี หนูราช และ ๕. นายรอด วะจีประศรี หลวงปู่หน่อยได้ปักกรดจำพรรษา ณ ภูน้อยแห่งนี้ และได้ทำการเสี่ยงไม้วา (เป็นประเพณีดั้งเดิมของการเสี่ยงทาย

วัดนาคาเทวี-นาข่า
วัดนาคาเทวี-นาข่า

พระอุโบสถ
     หลวงปู่หน่อย ได้สร้างวัดขึ้นแล้ว จึงคิดบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถครอบบริเวณเดิม ร่วมกับชาวบ้านที่อพยพตามมา โดยได้บูรณะพระที่พบมีแต่ลำตัวแต่ไม่มีเศียร ข้างในเป็นทองคำ นั่งอยู่บริเวณพระอุโบสถเก่าที่รกร้างกลางป่า ซึ่งพระองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีอยู่แต่เก่าก่อนไม่ได้ทำการสร้างขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด สันนิษฐานเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

        หลวงปู่หน่อยจึงได้สร้างเศียรพระขึ้นใหม่และใช้ปูนโอบองค์เดิมไว้ ให้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่การก่อสร้างอุโบสถไม่แล้วเสร็จหลวงปู่หน่อยได้มรณภาพเสียก่อน ซึ่งในการสร้างพระอุโบสถนั้นช่างทำการขุดไปที่ใด ก็จะมีพระพุทธรูปกระจัดกระจายเต็มไปหมด หลวงปู่บอกว่าให้เอาไว้ที่เดิมอย่านำขึ้นมา จากสาเหตุนี้เองที่หลวงปู่ห้ามผู้หญิงเข้าไปในอุโบสถเด็ดขาด เพราะภายในและด้านล่างล้วนมีแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขไม่สมควรที่จะลบหลู่

         นอกจากนั้นประตูอุโบสถก็เปิดไม่ได้ต้องปิดไว้ คนจะนอนขวางประตูก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะถือว่าเป็นการปิดกั้นทางเดินหลวงปู่ไสย์ ธมมธินโน เจ้าอาวาสองค์ต่อมาที่ได้ก่อสร้างพระอุโบสถให้แล้วเสร็จใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๕

วัดนาคาเทวี-นาข่า

พระธาตุเจดีย์ 3 องค์
     พระธาตุเจดีย์สามยอด ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านหลังพระอุโบสถ สมัยก่อนนั้นจะมีพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระธาตุเจดีย์ที่มีอยู่แต่เก่าก่อนพร้อมๆกับที่พบพระพุทธรูปทองคำที่มีแต่ลำตัวแต่ไม่มีเศียร สภาพองค์เจดีย์ในสมัยนั้นมีสภาพเก่า ชำรุด ทรุดโทรมมาก จากนั้น นายสาย โมรา ผู้ใหญ่บ้านนาข่าในสมัยนั้นได้ร่วมกับชาวบ้าน ได้คิดที่จะริเริ่มทำการบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุเจดีย์ที่ชำรุด ทรุดโทรม ให้มีสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยได้ทำการบูรณะซ่อมแซมครอบปูนโอบองค์เดิมไว้ เพื่อให้ชาวบ้านนาข่าได้ทำการเคารพสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่มีอยู่แต่เก่าก่อน

วัดนาคาเทวี-นาข่า

      ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ เมื่อหลวงปู่หน่อยได้มรณภาพ ในช่วงสี่ถึงห้าปีหลังที่หลวงปู่หน่อยได้มรณภาพลง ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านก็ได้ร่วมกันคิดที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อจะบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หน่อยขึ้นมาอีก ซึ่งการก่อสร้างครั้งนี้จะเป็นการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวจะต้องอยู่ใกล้บริเวณพระธาตุองค์เดิมที่มีแต่เก่าก่อน

     จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้ร่วมกันที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมาอีกหนึ่งองค์ เพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่ไสย์ เจ้าอาวาสวัดนาคาเทวีในสมัยนั้น ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่หน่อย ผู้ทรงมีความรู้ ความสามารถในด้านวิทยาอาคมมากมาย ก่อนที่จะมีการสร้างพระธาตุเจดีย์นี้ขึ้น ชาวบ้านได้ทำพิธีขอขมาภูมิเจ้าที่ก่อน ในการทำพิธีได้มีร่างทรงเป็นผู้ทำพิธีดังกล่าว จากการทำพิธี ผลปรากฏว่าภูมิเจ้าที่ได้บอกว่า การที่ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมาอีกนั้น จะต้องทำการก่อสร้างให้ติดกับเจดีย์อัฐิธาตุของหลวงปู่หน่อยซึ่งสร้างขึ้นไว้อยู่ก่อนแล้ว การสร้างนั้นให้สร้างเป็นเจดีย์คู่ เหมือนเจดีย์คู่พี่คู่น้อง

                 แต่ต้องมีข้อแม้ว่าการก่อสร้างเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่ไสย์จะต้องสร้างให้มีขนาดเล็กลงมาอีก ห้ามสร้างให้เท่ากับพระธาตุเจดีย์ของหลวงปู่หน่อย โดยให้ลดขนาดของเจดีย์ลงทุกด้านทุกส่วน จำนวน ๔๔ เซนติเมตร เหตุผลก็เพื่อไม่ให้เป็นการเทียบรัศมีครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์จะต้องมีฐานะต่ำกว่าอาจารย์ห้ามอยู่เหนือกว่าเด็ดขาด

                  ด้วยเหตุนี้เองพระธาตุเจดีย์สามองค์ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ จึงมีขนาดไม่เท่ากัน การก่อสร้างบูรณะก็ไม่ได้สร้างพร้อมๆกัน และแต่ละพระธาตุก็จะมีอัฐิธาตุของพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ที่เป็นตำนานเลื่องลือมาแต่โบราณกาลของบ้านนาข่า ยกเว้นพระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าพระธาตุเจดีย์องค์อื่นๆ จะไม่มีอัฐิธาตุที่บรรจุอยู่ในพระธาตุเจดีย์ เพราะเจดีย์ดังกล่าวเป็นเจดีย์ที่มีมาแต่เก่าก่อนที่ชาวบ้านร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ครอบองค์เดิมขึ้นมา

วัดนาคาเทวี-นาข่า

เอาหินมาปิดรูพญานาค
     เมื่อหลวงปู่หน่อยได้บูรณะ ซ่อมแซมพระอุโบสถ จึงได้ปิดรูพญานาคไว้เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้คน เพราะรูดังกล่าวมีความกว้างและมีความลึกมาก จึงได้เอาหินมาปิดรูพญานาคไว้ จากปรากฏการณ์การปิดรูพญานาคทำให้เกิดเหตุการณ์กับผู้นำหมู่บ้านคนหนึ่ง คือ ได้เกิดอาการร้อนรนตามตัว นอนไม่ได้ร้อนเหมือนเอาไฟมาลน จึงได้ทำพิธีเข้าทรงปรากฏว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการปิดรูพญานาค เพราะเมื่อปิดรูแล้วก็ไม่สามารถออกมาข้างนอกได้  จึงได้ขุดรูขึ้นมาใหม่ ปรากฏว่าอาการก็หายไปซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ในส่วนที่เป็นข้อสันนิษฐานว่าพญานาคพญานาคที่บ้านนาข่ากับหลวงปู่ศรีสุทโธ ที่วัดคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี นั้น ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานว่าสืบเชื้อสายกันอย่างไร  หรืออาจเป็นสกุลนาคเหมือนกันก็เป็นได้

ขุดพบพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง
     ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๘ นายสาย โมรา ผู้ใหญ่บ้านนาข่าในขณะนั้น ได้ชักชวนชาวบ้านเพื่อก่อสร้างพระธาตุเจดีย์องค์เก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ในการขุดเพื่อวางฐานรากได้ขุดพบไห ๑ ใบ เมื่อนำมาเปิดรูปรากฏว่าข้างในมีพระพุทธรูปทองคำ ๘ องค์ พระพุทธรูปเงิน ๑๑ องค์ ซึ่งกรมศิลปากรได้นำขึ้นทะเบียนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง โดยกรมศิลปากรได้มอบให้ทางวัดเก็บรักษาไว้ จึงได้ทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นการสร้างพระธาตุขึ้นตามความคิดเห็นของชาวบ้านและนายช่าง รวมทั้งธาตุบรรจุอัฐิของหลวงปู่หน่อยและหลวงปู่ไสย์

วัดนาคาเทวี
พระพุทธรูป วัดนาคาเทวี บ้านนาข่า

เป็นที่ปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวบ้านนาข่า
                   ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หลังจากเสด็จขึ้นขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรชาวภาคอีสาน หลวงปู่หน่อยพร้อมชาวบ้านได้จัดเตรียมปะรำพิธีคอยต้อนรับพระองค์ฯ โดยไม่มีหมายกำหนดการว่าจะเสด็จมาเยือนเมื่อใด เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบ้านนาข่าได้สั่งให้รถยนต์พระที่นั่งจอด และเสด็จลงมาเยี่ยมทักทายประชาชน ซึ่งมีหลวงปู่หน่อย นายอินทร์ สระแก้ว ผู้ใหญ่บ้านให้การต้อนรับ นายโจ๊ะ ถวายนกยูง นายฮ้อยอินทร์ ถวายเหล็กไหล

                 และเป็นหมู่บ้านแห่งแรกในภาคอีสานที่มีการถวายผ้าไหมมัดหมี่แด่สองพระองค์ ซึ่งนับเป็นเกียรติ ประวัติแก่ชาวบ้านนาข่าเป็นอย่างมาก หลวงปู่หน่อยได้กลายเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านวิทยาอาคม และเมตตามหานิยม เป็นที่ประจักษ์โดยการปราบภูตผีปีศาจทุกถิ่นที่นิมนต์ไป บางครั้งเดินทางไปเป็นเวลาถึงสามเดือน จึงได้กลับวัด เช่น จังหวัดหนองคาย แต่ก็เต็มใจที่จะรับใช้ญาติโยมที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น จนในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ท่านก็ได้มรณภาพ

วัดนาคาเทวี-นาข่า

พระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์
     ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ พระนิกร สุขิโต พระลูกวัด (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาคาเทวี) ได้มีเจตจำนงที่จะสร้างพระพุทธรูปสักองค์หนึ่ง ในราคาประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท จึงได้ปรึกษากับญาติโยมทุกคนก็เห็นด้วย จึงได้ทำพิธีขอสร้างจากภูมิในพระอุโบสถ แต่ปรากฏว่าภูมิไม่อนุญาต ถ้าหากจะสร้างองค์เล็กให้สนร้างขนาดใหญ่เลย และชี้สถานที่ที่จะก่อสร้างให้พร้อมเสร็จ นอกจากสถานที่นี้แล้วห้ามไปสร้างที่อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการดำเนินการ โดยมีมติสร้างพระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์ มีหน้าตักกว้าง ๘.๙๙ เมตร สูงรวมฐาน ๑๘.๙๙ เมตร งบประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐  บาท (สิบล้านบาทถ้วน)

       ชั้นล่างจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ชุมชน ระยะ ก่อสร้าง ๑๐ ปี เมื่อได้ข้อสรุปจึงได้ให้ช่างก่อสร้างดำเนินการ โดยใช้รถแมคโครปราบที่เพื่อวางฐานราก ซึ่งในวันที่ ๒๒ และ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ปรากฏว่าได้พบโครงกระดูก เครื่องใช้ ภาชนะ เครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก จึงได้ให้ผู้รับเหมาระงับการก่อสร้างไว้ก่อน โดยมอบหมายให้นายสุธน หนูโดด รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองนกเขียนโพนทัน (ขณะนั้น) ประสานงานกับนายเริงฤทธิ์ พลนามอินทร์ วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี

           ติดต่อกับเจ้าหน้าที่จาก พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงมาศึกษาในเบื้องต้น จากนั้นได้ประสานงานกับศิลปากรภาคที่ ๙ จังหวัดขอนแก่น มาพิสูจน์เพื่อหาหลักฐานความเป็นมา โดยได้นำโครงกระดูกเพศชายและเพศหญิงขึ้นมา พร้อมทั้งภาชนะดินเผาส่วนหนึ่งขึ้นมาศึกษา แล้วให้กลบส่วนอื่นไว้ตามเดิม ซึ่งจากการพิสูจน์หลักฐานเป็นมนุษย์ที่มีอายุไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ปี สังเกตจากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่มีลายเชือกธรรมดา ยังไม่มีสีสันแต่เติมเหมือนของบ้านเชียง

     วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ทำพิธีพุทธาภิเษกและเบิกเนตรพระพุทธศรีรัตนมหามงคลนาคาเทวี โดยมีหลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต วัดป่าคูณคำวิปัสสนา อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีคุณยายถ่ำ พุทธาผา อายุ ๑๐๓ ปี พร้อมครอบครัวเป็นประธาน และมอบเงินสนับสนุนจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท

มีรายนามผู้ร่วมบริจาคดังนี้

นายสุธน – นางทองม้วน หนูโดด ๑๐๐,๐๐๐ บาท

คุณยายน้อย ช่วยค้ำชู นายสมจิต นางถัง เพ็งวงษ์ จำนวน ๑๐๐๐,๐๐๐ บาท

พระพุทธชินราช ๑ องค์ จำนวน ๒๖๐,๐๐๐ บาท

นายคูณ – นางทองก้อน  พรหมวงศ์ ๑,๐๐๒,๕๕๕ บาท

นางจันทร์ดี บุตรธนู ๑๐๐,๐๐๐ บาท

นายธงชัย – นางแสวง พรหมวงศ์ เจ้าภาพไฟฟ้าทั้งหมด ๑๐๐,๐๐๐ บาท

นายประสงค์ – นางสุข มุกขะกัง ๕๐,๐๐๐ บาท

นายบุเพ็ง – นางน้อย ช่วยค้ำชู พระพุทธรูปนิลดำ ๑ องค์ ๑๓๐,๐๐๐ บาท

วัดนาคาเทวี-นาข่า

จากการเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์ และการได้รับประทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทำให้จิตใจของชาวบ้านนาข่า พี่น้องประชาชนทั่วไปได้หลอมดวงใจเป็นหนึ่งเดียว โดยมีการบริจาควัสดุ สิ่งของ เงินทอง จากงบประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันได้ก่อสร้างเป็นงบประมาณไปแล้วประมาณ ๑๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบสี่ล้านบาทถ้วน) ก็ด้วยเพราะบารมีของภูมิเจ้าที่ หลวงปู่หน่อย หลวงปู่ไสย์ และย่านาคา

เมื่อผู้รับเหมาได้ดำเนินการส่วนแรกแล้วเสร็จ จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการวางศิลาฤกษ์พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ โดยมีมติในที่ประชุมให้จัดงานในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ โดยมีนายเริงฤทธิ์ พลนามอินทร์ ได้ติดต่อประสานงานกับนายปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนาในขณะนั้นมาเป็นประธาน ทุกอย่างผ่านไปด้วยความราบรื่น โดยได้รับความร่วมมือจากพี่น้องชาวบ้านนาข่า จากหน่วยราชการต่างๆ ทั้งนี้ในการพบปะประชาชน ท่านอธิบดีได้มอบเงินสมทบทุนสร้างจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท และขอประทานพระบรมสารีริกธาตุให้กับทางวัด เพื่อนำขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเกศพระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้รับแจ้งจากนายเริงฤทธิ์ พลนามอินทร์ วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ให้ไปรับประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งนำความปลื้มปิติมาสู่พี่น้องชาวบ้านนาข่า

ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙ วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีและผู้ร่วมเดินทางจำนวน ๒๒ คน ได้ออกเดินทางไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อนออกเดินทางได้มรฝนโปรยปรายลงมาตลอดทาง เมื่อเดินทางถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ท่านอธิบดีและคุณนายได้รอรับอยู่แล้ว จากนั้นสำนักพระราชวังจึงได้นำทุกคนเข้าเฝ้าและรับประทานพระบรมสารีริกธาตุจากพระหัตถ์ เมื่อเดินทางกลับถึงบ้านนาข่า จึงได้จัดให้มีการฉลองถึง ๓๖ วัน โดยในวันแรกได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักในขณะทำพิธี ซี่งฝนก็ตกอยู่แต่ในบริเวณหมู่บ้านนาข่าเท่านั้น

ปัจจุบันการก่อสร้างได้ก่อสร้างเรื่อยมากจนได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และยังคงเหลือส่วนที่เป็นชั้นล่างที่เป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ชุมชน ซึ่งคงต้องใช้งบประมาณในส่วนนี้ประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน) ก็จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้ความฝันกลายเป็นจริงว่าจะมีพระพุทธรูปที่มีความสวยสด งดงาม ตระหง่านเป็นศักดิ์ศรีของชาวนาข่าตราบนานเท่านาน คงไม่นานเกินรอนับจากนี้ไป

ขอบพระคุณข้อมูลเรื่องราวทั้งหมดจาก เทศบาลตำบลนาข่า http://services.totiti.net/nakhaud/?p=4514

วัดนาคาเทวี-นาข่า

รถตู้อุดรธานี VIP.10 ที่นั่งเช่าเหมาพร้อมคนขับนำเที่ยวอุดร

 ทีมงานรถตู้อุดรธานี ให้เช่า เหมาพร้อมคนขับ VIP. รับส่งสนามบินอุดรธานี หนองคาย ราคาถูกนำเที่ยวอุดรจัดทริปตามเวป PANTIP รีวิวทุกโปรแกรม จัดทัวร์ท่องเที่ยวอุดรธานี บูชาพระยานาค คำชะโนด หลวงปู่ศรีสุทโธ วัดป่าภูก้อน วัดป่าสว่างธรรม ( วัดศิริพร อำไพพงษ์ ) อุทยานแห่งชาติภูพระบาท หอนางอุสา

ถ้ามีเวลาหลายวัน ไปเที่ยวลาวซักวันก็ได้ โทรสอบถามรายละเอียดเลยครับ ไม่แพงอย่างที่คิด

บริการให้เหมาเช่ารถตู้อุดรธานี เป็นรถตู้ TOYOTA HIAC COMUTOR รับส่งสนามบินฟรี เที่ยวหนองคาย สกายว๊อค วัดผาตากเสื้อ อ.สังคม,ไหว้หลวงพ่อพระใส ตลาดอินโดจีน ศาลาแก้วกู่ พระธาตุบังพวน หนองคาย ,บั้งไฟพระยานาค วัดไท โพนพิสัย,ภูทอก หินสามวาฬ บึงกาฬ,เชียงคาน ภูเรือ เลย วังน้ำเขียว เขาใหญ่ เขาค้อ ภูทับเบิก ขอนแก่น กรุงเทพ แนะนำโปรแกรมที่พักอาหาร พร้อมคนขับรถตู้ประสบการณ์สูงรถตู้ใหม่ แอร์เย็น ที่ชาร์จโทรศัพท์ WIFI

รถตู้อุดรธานี

แผนที่วัดนาคาเทวี-นาข่า