วัด องตื้อมหาวิหาร เวียงจันทน์ สปป.ลาว

วัดองตื้อ เวียงจันทน์ สปป.ลาว

วัดองตื้อ สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16 หรือราว ค ศ.1566 หลังจากที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สร้างเมืองเวียงจันมาแล้ว 6 ปี สันนิษฐานว่า วัดองตื้อนี้ ได้สร้างทับกับวัดเก่า เพราะสามารถเห็นซากของอาระธรรมขอมหลายอย่างในบริเวณวัด

วัดองตื้อ เวียงจันทน์

ในสมัยก่อน วัดองตื้อ วัดอินแปง และวัดหายโศก ทั้งสามวัดคือ วัดเดียวกัน สอบถามจากผู้เฒ่าได้กล่าวว่า ” เพิ้นเอิ้นว่าวัดไซยะพูม ” แต่หลังจากได้อัญเชิญพระองตื้อ มาประดิษฐานที่วัด บรรดาประชนเลยเรียกว่า วัดองตื้อ จวบจบปัจจุบัน


วัดองตื้อ มะหาวิหาน

 

ครั้นถีงประมาณปี ค ศ.1828-1829 ในสมัยสงคราม วัดแห่งนีเก็ไม่พ้นจากพิษของสงคราม ถูกพลังของระเบิดพังพินาศ โครงสร้างหลังคาพังไปเกือบหมดคงเหลือแต่เสาบางส่วน ฝาผนังโบสถ์ก็ล้มพังเสียหายเกือบทั้งหลัง

และได้ซ่อมใหม่ขั้นมาในปี ค ศ. 1911-1912 ในทุกส่วนของโบสถ์เช่น เสา ฝาผนัง หลังคาที่เราเห็นในปัจจุบัน คือเป็นการสร้างขึ้นใหม่โดยรักษาโครงสร้างเดิมไว้ทั้งหมด

ซุ้มประตูโบราณ

รูปแบบพัทธสีมาของวัดองตื้อ ถือเป็นศิลปะล้านช้างต้นแบบของวัดทั่วไปในลาว จากฝีมือของสกุลช่างสถาปัตยกรรมศิลปสมัยพระไชยเชษฐาธิราช ศตวรรษที่ 16

 

บานประตูทั้ง 3 บาน ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา นำมาถวายในปี ค ศ.1966 ( ผู้เขียนพึ่งเกิด ) โดยผู้ที่เข้าพระราชทานคือ เจ้าพระยาหลวงเมืองจัน ( อู่ทอง สุววรรณวงศ์ ) ออกแบบรูปภาพโดย เจ้ามณีวงศ์ ขันติยะราช (ทิดตัน )สุวรรณภูมิ เป็นผู้แกะสลักลวดลายซึ่งเป็นช่างจากพระราชวังหลวงพะบาง

ปฎิมากรรมพระพุทธรูปใหญ่องตื้อ ( ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ ซึ่ง 1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม ) สร้างจากทองเหลือง ตามพงศาวดาลลาวกล่าวส่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้นำพาประชาชนหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขึ้นในปี ค ศ.1566 มีจำนวน 4 องค์คือ

พระเจ้าองตื้อ องค์ที่ประดิษฐานที่อุโบสถุวัดองตื้อปัจจุบันที่ถือว่าสง่างาม ศักดิ์สิทธิ์และใหญ่ที่สุดที่เกิดจากการรวมตัวสร้างโดยความร่วมมือของประชาชนชาวลาวในสมัยก่อน ที่ไม่เหมือนพระพุทธรูปองค์ไหนในโลก มีความปราณีตไม่น้อยหน้ากว่าช่างศิลปตระกูลใด

พระเสริม ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ วัดประทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

พระสุก ตามคำบอกเล่าว่า จมอยู่ในแม่น้ำโขงที่เรียดว่า ” เวินพระสุก ” (บ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัยปัจจุบัน ) ตอนที่แม่ทัพของสยามได้นำข้ามแม่น้ำโขงไปสู่เมืองบางกอก

พระใส ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

วัดองตื้อมหาวิหาร ( Wat Ong Teu Mahawihan )

วิทยาลัยสงฆ์ 1 ใน 3 ของวิทยาลัยสงฆ์ของลาว ปัจจุบัน ถูกปรับปรุงให้เป็นที่สะอาดสะอ้านสมกับเป็นพระอารามหลวง ถึงแม้ว่าบริเวณลานจอดรถ จะมีพี่น้องชาวลาวนำรถมาจอดมากมาย แต่ปัจจุบันทางวัดก็ได้จัดแบ่งพื้นที่จอดไว้ชัดเจน ไม่เหมือนก่อน

โดยทางด้านข้างพระอุโบสถ ได้จัดสร้างลานเสาอะโศกะจำลองขึ้นที่ลานข้างหอระฆัง มีการจัดสวนออกแบบสวยงาม กลายเป็นแลนด์มาร์คสำหรับถ่ายรูปเป็นที่ระลึกของนักท่องเที่ยวทั่วไป ยามมาเยือน

เสาหินอโศกจำลองถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาในอดีต เพื่อรำลึกถึงพระราชเกียรติของพระเจ้าอโศกมหาราช

” เสาหินอโศก “อยู่ที่ประเทศอินเดีย เนื่องมาจากพระเจ้าอโศกมหาราช ได้สร้างขึ้นมาทั้งหมด 48 ต้น แต่ละต้นก็จะจารึกหลักธรรมคำสอนของพระองค์ เสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากฝีมือมนุษย์และพลังแห่งธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นในปัจจุบัน

อาคารเรียนของ Sangha College ວິທະຍາໄລສົງ ” วิทยาลัยสงฆ์องตื้อ “เวียงจันทน์ อยู่ภายในบริเวณภายในขอบรั้วของวัดองตื้อ มีเพียงแค่ 2 อาคาร อาคารแรก เป็นอาคารเก่ามาก เป็นอาคาร 2 ขั้น น่าจะเป็นศิลปของฝรั่งเศสสมัยสงคราม แต่ขาดการบูรณะให้สวยงาม แต่โครงสร้างน่ายังคงแข็งแรง มีตวามสวยงามแบบโคโลเนี่ยน ถ้าเป็นของเอกชน น่าจะเป็นร้านกาแฟหรูไปแล้วก็ได้

ส่วนอีกอาคาร เป็นอาคารที่พึ่งสร้างเสร็จ เป็นอาคารเรียนแบบสมัยใหม่ ไท่มีกลิ่นอายความเป็นล้านช้างเข้ามาปน อาจเป็นเพราะ งบประมาณในการจัดสร้างน่าจะจำกัด เลยได้อาคารเรียน 2 ชั้นแบบทั่วไปที่เราเคยเห็นชินตา

เท่าที่ผู้เขียนได้สังเกตุดู นักศึกษาพระของที่นี่ก็ยังน้อย คงเนื่องมาจากจำนวนประชากรลาวที่ยังน้อยมาก พระสงฆ์ก็เลยน้อยตามสัดส่วน จะเยอะมากก็ตอนที่มีสอบนักธรรมบาลี จะมีนักศีกษาพระหลากหลาย เดินทางมาทำการสอบเลื่อนขั้นที่นี่ เวลานั้น จะมีแม่ค้านำสินค้ามาขายกันครื้นเครง ราวกับมีงานประจำปีเลยที่เดียว